Jan
21
2020
ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดค่าสีแบบ SCI และ SCE
Back

ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดค่าสีแบบ SCI และ SCE

ลักษณะของพื้นผิวมีผลต่อการวัดค่าสีของวัตถุ จากภาพที่ปรากฎ วัตถุที่มีผิวมันวาว (high-gloss surface) จะทำให้เห็นสีทีอิ่มตัวมากกว่า ในขณะที่วัตถุอีกชิ้นที่มีผิวมันวาวน้อยกว่า (non-glossy)จะเห็นสีของวัตถุชิ้นนั้นเป็นสีทึมๆ ไม่อิ่มตัว คือ แสงสะท้อน (specular reflection) และแสงกระเจิง (diffuse reflection)

แสงสะท้อน (specular reflection) จะเกิดจากแสงที่ตรงกันข้ามกับมุมที่แสงตกกระทบวัตถุ คล้ายกับการเด้งกลับของลูกบอลที่กระทบกับกำแพง ซึ่งจะพบมากในวัตถุที่มีพื้นผิวมันวาวและพื้นเรียบและหากแสงตกกระทบวัตถุจากหลายทิศทาง เราจะเรียกแสงนั้นว่า แสงกระเจิง (diffuse reflection) จะเกิดขึ้นมากในวัตถุที่เป็นพื้นผิวหยาบ (ไม่มันวาว) และพื้นไม่เรียบ

การวัดสีที่ต้องการจเฉพาะเนื้อสีของวัตถุ ไม่สนใจพื้นผิวว่าจะมันวาวหรือผิวหยาบ แนะนำให้ใช้โหมดการวัดสีแบบ SCI (Specular Component Included) ซึ่งการวัดโหมดสี จะเป็นการวัดสีที่รวมแสงทั้ง 2  ลักษณะ เป็นวิธีการวัดสีที่ใช้ในการกระบวนการ Color matching และควบคุมคุณภาพของสีอีกด้วย

ส่วน โหมดวัดสีแบบ SCE (Specular Component Excluded) จะเป็นการวัดสีแบบไม่นำรวม แสงสะท้อน (specular reflection) ซึ่งจะใช้สำหรับการวัดค่าสีให้สอดคล้องกับสายตามนุษย์ โดยจะนำเอาลักษณะของพื้นผิวของวัตถุมาคำนวณค่าสีให้คลายคลึงกับที่ตามนุษย์มองเห็น วิธีการนี้ใช้ควบคุมและประเมินว่าค่าสีที่วัดได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการตรวจสอบสีโดยสายตาหรือไม่

 

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการสาธิตการใช้งานเครื่องแบบ Spetrophotometer และ Color QC Software

ได้ที่ teamiie@centasiathai.com

หรือคุณสามารถโทรหาเราได้ที่เบอร์ 02-361-3730 หรือ 092-384-4664

ศูนย์รวมคำตอบสำหรับการวัด, สี, แสง, หน้าจอ และการวัดลักษณะภายนอก

ย้อนกลับ